วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2553
“จิตแห่งการสังเคราะห์” การสร้างปัญญาแบบบูรณาการ
“การคิดเชิงสังเคราะห์จะช่วยให้เราเกิดความรอบคอบในแนวทาง ปฏิบัติเนื่องจากผ่านการคิดวิเคราะห์ที่มีข้อมูลอย่างครบถ้วนรอบด้าน ความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นจากความคิดจะมีโอกาสเกิดขึ้นได้น้อย อันจะทำให้เราสามารถสร้างสรรค์สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมและตัวของเราได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด”
ข้อความดังกล่าวเป็นคำกล่าวของศ.ดร.เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ ในวารสาร Harvard Business Review ที่ทำการสำรวจและสอบถามถึง คุณลักษณะที่สำคัญที่สุดของผู้นำในศตวรรษที่ 21 “Breakthrough Idea for 2006” จากนักคิดผู้ที่มีชื่อเสียงในแขนงต่างๆจำนวนกว่า 20 ท่าน
แนวคิดข้างต้นสอดคล้องกับแนวคิด จิตแห่งการสังเคราะห์ (Synthesizing Mind) ซึ่งเป็น1ใน 5 จิตของ Howard Gardner ที่ระบุไว้ในหนังสือ “Five Minds for the Future” ว่าเป็นสิ่งที่มนุษย์จำเป็นจะต้องมีเพื่อที่จะเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงและเพื่อที่จะประสบความสำเร็จในการทำงานในยุดศตวรรษที่ 21 ซึ่งจิตทั้ง 5 ประกอบไปด้วย
จิตแห่งวิทยาการ (Disciplined Mind) จิตแห่งการสังเคราะห์(Synthesizing Mind) จิตแห่งการสร้างสรรค์ (Creating Mind) จิตแห่งความเคารพ (Respectful Mind) และจิตแห่งคุณธรรม (Ethical Mind)
Gardner ได้รับแนวคิดเรื่องจิตแห่งการสังเคราะห์มาจาก Murray Gell-Man นักฟิสิกส์ชาวสหรัฐฯเจ้าของรางวัลโนเบลที่เคยกล่าวไว้เมื่อกว่า 75 ปีที่แล้วว่า......
“ในศตวรรษที่ 21 จิตที่สำคัญที่สุด คือ จิตแห่งการสังเคราะห์ หรือSynthesizing Minds”
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคปัจจุบันที่ข้อมูลข่าวสารมีการหลั่งไหลข้อมูลอย่างรวดเร็วโดยปราศจากข้อจำกัดของระยะทาง สถานที่และเวลา การมี”จิตสังเคราะห์”จะทำให้มนุษย์ไม่เสียเวลาในการกลั่นกรองข้อมูลจำนวนมาก และสามารถเลือกรับข้อมูลที่จะนำไปใช้ประโยชน์ และหลีกหนีจากข้อมูลที่ทำให้เกิดโทษได้
ซึ่ง Gardner เองก็เห็นพ้องเช่นนั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสร้างเยาวชนให้มีความสามารถในการคิดเชิงสังเคราะห์ ก็เท่ากับเป็นการสร้างเกราะคุ้มกันภัยร้ายที่คุกคามอนาคตของเยาวชนได้ โดยที่ผู้ปกครองยังสามารถให้อิสระแก่ลูกๆในการใช้ชีวิตได้โดยที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาและความเดือดร้อนต่อตนเองและสังคม
การมี “จิตสังเคราะห์” จึงเป็นทักษะที่ล้ำลึกมากกว่าการวิเคราะห์เนื่องจากเป็นการนำสิ่งต่างๆที่เราวิเคราะห์ หรือทำการแยกแยะ เพื่อทำการศึกษากลับมารวมเข้าด้วยกันในเชิงจิตนาการเพื่อมุ่งสู่ความเข้าใจภาพรวมและเกิดองค์ความรู้ เกิดมุมอย่างทะลุปรุโปร่ง เป็นความเข้าใจที่ลึกซึ้งสามารถนำไปใช้ได้เหนือระดับการวิเคราะห์
จิตแห่งการสังเคราะห์ ก่อให้เกิดปัญญาแบบบูรณาการ เกิดความเข้าใจเสริมเพิ่มขึ้นจากเดิม และสามารถอธิบายต่อให้กับผู้อื่นได้อย่างครบถ้วนชัดเจน และตรงประเด็น และการมี”จิตสังเคราะห์”ไม่ใช่เรื่องไกลตัว หรือเกิดกับนักคิดชั้นนำของโลกเท่านั้น เพราะการคิดสังเคราะห์ เป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตมนุษย์อย่างเป็นธรรมชาติอยู่แล้ว แนวทางการฝึกฝนให้เกิดจิตแห่งการสังเคราะห์นั้น ควรเริ่มตั้งแต่ในวัยเด็กให้ได้รับการฝึกฝนและส่งเสริมประเด็นต่อไปนี้
1.เปิดประสบการณ์ ให้เด็กได้มีโอกาสรับรู้ข้อมูลรูปแบบใหม่
2.แสวงหาความสัมพันธ์ของสรรพสิ่ง ฝึกมองทุกสิ่งทุกอย่างให้เชื่อมโยงกันและพยายามหาความสัมพันธ์ของสิ่งต่างๆรอบตัวอย่างมีเหตุผล 3.ฝึกตีประเด็นช่วยคิดให้ชัดเจน อย่าคิดคลุมเครือ ฝึกจับประเด็นจากบทความที่ได้อ่าน ทั้งจากหนังสือ หรือสิ่งต่างๆที่ได้ฟังมา
4. แยกแยะข้อเท็จจริงออกจากความคิดเห็น เพื่อให้ข้อมูลที่สังเคราะห์ได้มานั้นมีความเป็นกลางมากที่สุด
ประโยชน์ของจิตแห่งการสังเคราะห์นั้นมีมากมาย กล่าวโดยรวม คือ สามารถทำความเข้าใจกับข้อมูลจำนวนมากอย่างรวดเร็วและไม่หลงทิศทาง เพื่อสร้างสรรค์แนวคิดหรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆและเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยไม่ต้องไปเริ่มจากศูนย์หรือลองผิดลองถูกตั้งแต่ช่วงเริ่มต้น ดังบัญญัติศัพท์ใหม่ที่มาใช้กันว่า”นวัตกรรม” ซึ่งหมายถึง ความสามารถพลิกแพลงความรู้ที่มีอยู่นำมาใช้ประโยชน์และพัฒนาจนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้
ในวัยเรียน : จิตแห่งการสังเคราะห์ช่วยให้เด็กนักเรียนสามารถจับประเด็นของวิชาต่างๆโดยแยกส่วนที่เป็นแก่น (Core) ออกมาจากรายละเอียด (Details) ทั้งหมด ทำให้ไม่ต้องท่องจำเนื้อหาวิชาที่มีมากมายและเข้าใจแนวคิดหรือประเด็นสำคัญในเรื่องเรื่องนั้นได้เป็นอย่างดี
วัยแห่งการทำงาน : จิตแห่งการสังเคราะห์ช่วยในการเรียนรู้ข้อมูลและทักษะใหม่ๆที่สำคัญ โดยจะนำมาผนวกกับงานในสายอาชีพเดิมที่มีอยู่ ก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ๆเป็นการต่อยอดทางความรู้ นอกจากนี้ “จิตสังเคราะห์”จะเป็นประโยชน์ในการตัดสินใจ ทำให้สามารถกลั่นกรองข้อมูลที่มีจำนวนมหาศาลและทำให้ไม่หลงเชื่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งง่ายๆ
การที่ชาติหรือบุคคลจะสร้างนวัตกรรมได้นั้น จึงต้องมีการคิดแบบสังเคราะห์ ซึ่งเป็นการต่อยอดความรู้ที่มีอยู่เดิมให้ขยายไป จนเกิดมุมมองใหม่ๆในการแก้ปัญหานั้นๆได้อย่างครอบคลุมและถูกต้อง ซึ่งเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งที่ “สำนักงาน ก.พ.” มุ่งหวังให้เกิดการปลูกฝังแนวคิดนี้ให้กับทุนมนุษย์ของคนในชาติ ภายใต้ “โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์ความรู้สาธารณะด้านการจัดการทุนมนุษย์” เพื่อพัฒนาความสามารถทางปัญญาของมนุษย์ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพของสังคมเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงที่ประเทศจะต้องเผชิญต่อไปในโลกอนาคต
วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553
หนังสือในมือคุณ (ครู)
การอ่านหนังสือ…
คือการท่องเที่ยวไปในอาณาจักรแห่งวิชาการ
เดินทอดน่องในอุทยานแห่งอักษร
เพลิดเพลินกับการชมดอกไม้แห่งภูมิปัญญาของปวงปราชญ์
จุดมุ่งหมายของการอ่านที่แท้จริง
ไม่ใช่อ่านเพื่อให้คลายความหงอยเหงา
ไม่ใช่อ่านเพื่อความชำนาญในด้านภาษา
ไม่ใช่อ่านเพื่อความเป็นผู้รอบรู้
แต่อ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การอ่านที่ได้ผล…
ต้องอ่านโดยเชื่อมโยงความรู้ใหม่ให้เข้ากับความรู้เก่า
นำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปจับคู่
แต่งงานกับความรู้เดิมที่มีอยู่ในมันสมอง
ความรู้ใหม่กับความรู้เดิมก็จะออกลูกออกหลาน
เป็นความรู้สายพันธ์ใหม่ที่แข็งแรง
อันเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ไม่เคยมีในโลกมาก่อน
แม้คุณจะหนอนหนังสือมากแค่ไหน
อ่านหนังสือทุกชนิดที่ขวางหน้า
จดจำคำคมของปวงปราชญ์ได้มากมาย
เล่าประวัติบุคคลสำคัญได้อย่างละเอียด
ท่องจำข้อมูลตัวเลขได้แม่นยำ
แต่ไม่อาจนำไปประยุกต์ใช้ได้
คุณเป็นได้อย่างดีก็แค่…
เครื่องถ่ายเอกสารเดินได้
มันสมองของคุณก็คือถังขยะข้อมูลใบใหญ่
ฉันตั้งข้อสังเกตประเภทนักเขียนหนังสือ ดังนี้
ประเภทที่ 1 เขียนตามหลักวิชาการ
ผู้เขียนต้องมีความรู้กว้างขวางแต่ด้อยความลุ่มลึก
ใครที่มีการศึกษาสูงก็เขียนได้
ประเภทนี้เขียนได้ไม่ยากนัก
ประเภทที่ 2 เขียนตามข้อมูลเท็จจริง
ด้วยการสะท้อนภาพสังคมโดยการเจือภาษาวรรณศิลป์เข้าไป
นำพาคนอ่านให้สะเทือนใจได้บ้าง
ประเภทนี้เขียนได้ยากกว่าประเภทแรก
ประเภทที่ 3 เขียนตามจินตนาการ
คือการสร้างภาพบนพื้นที่ความคิดที่ว่างเปล่า
จูงใจผู้อ่านให้สะกดรอยตามลายแทงแห่งอักษร
ประเภทนี้เขียนยากกว่าสองประเภทข้างต้น
ประเภทที่ 4 เขียนเพื่อให้ทางออก
โดยการนำผู้อ่านให้เข้าถึงความคิดของตน
จนสามารถตอบโจทย์ชีวิตได้
ประเภทนี้เป็นงานเขียนที่ดีที่สุด
คือการท่องเที่ยวไปในอาณาจักรแห่งวิชาการ
เดินทอดน่องในอุทยานแห่งอักษร
เพลิดเพลินกับการชมดอกไม้แห่งภูมิปัญญาของปวงปราชญ์
จุดมุ่งหมายของการอ่านที่แท้จริง
ไม่ใช่อ่านเพื่อให้คลายความหงอยเหงา
ไม่ใช่อ่านเพื่อความชำนาญในด้านภาษา
ไม่ใช่อ่านเพื่อความเป็นผู้รอบรู้
แต่อ่านเพื่อนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
การอ่านที่ได้ผล…
ต้องอ่านโดยเชื่อมโยงความรู้ใหม่ให้เข้ากับความรู้เก่า
นำความรู้ที่ได้จากการอ่านไปจับคู่
แต่งงานกับความรู้เดิมที่มีอยู่ในมันสมอง
ความรู้ใหม่กับความรู้เดิมก็จะออกลูกออกหลาน
เป็นความรู้สายพันธ์ใหม่ที่แข็งแรง
อันเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ไม่เคยมีในโลกมาก่อน
แม้คุณจะหนอนหนังสือมากแค่ไหน
อ่านหนังสือทุกชนิดที่ขวางหน้า
จดจำคำคมของปวงปราชญ์ได้มากมาย
เล่าประวัติบุคคลสำคัญได้อย่างละเอียด
ท่องจำข้อมูลตัวเลขได้แม่นยำ
แต่ไม่อาจนำไปประยุกต์ใช้ได้
คุณเป็นได้อย่างดีก็แค่…
เครื่องถ่ายเอกสารเดินได้
มันสมองของคุณก็คือถังขยะข้อมูลใบใหญ่
ฉันตั้งข้อสังเกตประเภทนักเขียนหนังสือ ดังนี้
ประเภทที่ 1 เขียนตามหลักวิชาการ
ผู้เขียนต้องมีความรู้กว้างขวางแต่ด้อยความลุ่มลึก
ใครที่มีการศึกษาสูงก็เขียนได้
ประเภทนี้เขียนได้ไม่ยากนัก
ประเภทที่ 2 เขียนตามข้อมูลเท็จจริง
ด้วยการสะท้อนภาพสังคมโดยการเจือภาษาวรรณศิลป์เข้าไป
นำพาคนอ่านให้สะเทือนใจได้บ้าง
ประเภทนี้เขียนได้ยากกว่าประเภทแรก
ประเภทที่ 3 เขียนตามจินตนาการ
คือการสร้างภาพบนพื้นที่ความคิดที่ว่างเปล่า
จูงใจผู้อ่านให้สะกดรอยตามลายแทงแห่งอักษร
ประเภทนี้เขียนยากกว่าสองประเภทข้างต้น
ประเภทที่ 4 เขียนเพื่อให้ทางออก
โดยการนำผู้อ่านให้เข้าถึงความคิดของตน
จนสามารถตอบโจทย์ชีวิตได้
ประเภทนี้เป็นงานเขียนที่ดีที่สุด
คุณเองอาจเคยอ่านหนังสือมาหลายเล่ม
บางเล่มคุณอ่านได้ไม่กี่หน้าก็ต้องวางทิ้ง
เพราะขาดความหนักแน่นในเนื้อหา
ขาดความโดดเด่นในภาษา
ขาดความนุ่มนวลทางอารมณ์
ขาดความลุ่มลึกทางวิสัยทัศน์
บางเล่มคุณอ่านจนวางไม่ลง
เพราะครบถ้วนด้วยเนื้อหาสาระ
คมคายด้วยภาษาวรรณศิลป์
ให้ความอ่อนโยนทางอารมณ์
และชัดเจนด้วยทางออก
ถ้าคุณสามารถย่อหรือขยายใจความได้
คุณย่อมนำความรู้นั้นเป็นประโยชน์แก่ตัวเองและสังคมได้
ถ้าคุณแตกฉานยิ่งกว่านี้
จนคุณพัฒนาต่อยอดความคิดออกไปได้อีก
คุณคือปราชญ์คนหนึ่งของแผ่นดิน
แม้ว่าคุณจะไม่ได้จบปริญญาก็ตามที
เพราะโลกในวันนี้
ต้องการองค์ความรู้ใหม่ที่ยังไม่มีในหลักสูตร
ต้องการนวัตกรรมทางความคิดชนิดใหม่
ที่ยังไม่ได้ถูกเขียนเป็นตำรา
ต้องการทางเลือกใหม่ที่แตกต่างไปจาก
ทางเลือกเดิมๆ รูปแบบเก่าๆ
การอ่านหนังสือนั้นดีแล้ว
แต่ถ้าอ่านหนังสือแล้วถูกชี้นำทางความคิด
สู้ไม่รู้หนังสือเลยยังจะดีกว่า
เมื่ออ่านจนมีความรู้แล้ว
ระวังจะเดินตกหลุมดำทางความรู้ของตน
อย่าติดกับดักในความฉลาดของตน
การอ่านจึงเป็นการพัฒนาความคิดที่ยอดเยี่ยม
โดยไม่เป็นทาสความคิดของใครและของตนเอง
แต่วันนี้เราชอบถ่ายสำเนาบุคลิกภาพของคนอื่น
มาใส่ลงในกรอบชีวิตของเรา…อย่างน่าสงสาร
บางเล่มคุณอ่านได้ไม่กี่หน้าก็ต้องวางทิ้ง
เพราะขาดความหนักแน่นในเนื้อหา
ขาดความโดดเด่นในภาษา
ขาดความนุ่มนวลทางอารมณ์
ขาดความลุ่มลึกทางวิสัยทัศน์
บางเล่มคุณอ่านจนวางไม่ลง
เพราะครบถ้วนด้วยเนื้อหาสาระ
คมคายด้วยภาษาวรรณศิลป์
ให้ความอ่อนโยนทางอารมณ์
และชัดเจนด้วยทางออก
ถ้าคุณสามารถย่อหรือขยายใจความได้
คุณย่อมนำความรู้นั้นเป็นประโยชน์แก่ตัวเองและสังคมได้
ถ้าคุณแตกฉานยิ่งกว่านี้
จนคุณพัฒนาต่อยอดความคิดออกไปได้อีก
คุณคือปราชญ์คนหนึ่งของแผ่นดิน
แม้ว่าคุณจะไม่ได้จบปริญญาก็ตามที
เพราะโลกในวันนี้
ต้องการองค์ความรู้ใหม่ที่ยังไม่มีในหลักสูตร
ต้องการนวัตกรรมทางความคิดชนิดใหม่
ที่ยังไม่ได้ถูกเขียนเป็นตำรา
ต้องการทางเลือกใหม่ที่แตกต่างไปจาก
ทางเลือกเดิมๆ รูปแบบเก่าๆ
การอ่านหนังสือนั้นดีแล้ว
แต่ถ้าอ่านหนังสือแล้วถูกชี้นำทางความคิด
สู้ไม่รู้หนังสือเลยยังจะดีกว่า
เมื่ออ่านจนมีความรู้แล้ว
ระวังจะเดินตกหลุมดำทางความรู้ของตน
อย่าติดกับดักในความฉลาดของตน
การอ่านจึงเป็นการพัฒนาความคิดที่ยอดเยี่ยม
โดยไม่เป็นทาสความคิดของใครและของตนเอง
แต่วันนี้เราชอบถ่ายสำเนาบุคลิกภาพของคนอื่น
มาใส่ลงในกรอบชีวิตของเรา…อย่างน่าสงสาร
สอนดีต้องมีหลัก
ในระบบจัดการศึกษา “ครู” เป็นปัจจัยหลัก
ถ้าจะพัฒนาระบบการศึกษาที่ดี
ต้องเริ่มจากพัฒนา “ครู”
คุณภาพของครูจึงมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการ
ศึกษา
ครูที่ดีมีคุณลักษณะที่เอื้อต่อการพัฒนาการศึกษา
และพัฒนาประเทศ มีลักษณะ 3 ประการคือ
1.สอนดี 2.มีคุณธรรม 3.นำชุมชนพัฒนา
การสอนเป็นภารกิจหลักของการเป็นครู
การสอนที่ดีควรมีหลักดังนี้
1.ศึกษาหลักสูตรให้กระจ่าง 2.วางแผนการสอนอย่างดี
3.มีกิจกรรม/ทำอุปกรณ์ 4.สอนจากง่ายไปยาก
5.วิธีสอนหลายหลากหลายชนิด 6.สอนให้คิดมากกว่าจำ
7.สอนให้ทำมากกว่าท่อง 8.แคล่วคล่องเรื่องสื่อสาร
9.ต้องชำนาญการจูงใจ 10.อย่าลืมใช้จิตวิทยา
11.ต้องพัฒนาอารมณ์ขัน 12.ต้องผูกพันห่วงหาศิษย์
15.สร้างบรรยากาศไม่น่ากลัว
16.ประพฤติตัวตามที่สอน
17.อย่าตัดรอนกำลังใจ
18.ใช้เทคนิคการประเมิน
19.ผู้เรียนเพลินมีความสุข 20.ครูสนุกกับนักเรียน
ที่มา : 1.หนังสือ “สอนดีต้องมีหลัก” รศ.ดร.ทองคูณ หงส์พันธุ์
2.บรรณิทัศน์นางวาสนา ต้นสาลี กรกฎาคม 2548
วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
8 เรื่องของเด็กและครูยุคใหม่
เด็กยุคใหม่ต้องมี 4 ร.
1. รู้เท่าทันโลก - เป็นผู้บริโภคที่ฉลาดกว่า
2. เรียนรู้ชำนาญ เชี่ยวชาญปฏิบัติ – มีการคิดพัฒนา มองสิ่งต่างๆอย่างลึกซึ้ง เชื่อมโยงกัน
3. ร่วมสร้างสรรค์สังคม – มีส่วนร่วมรับผิดชอบต่อสังคม สืบสานวัฒนธรรมความเป็นไทย
4. รู้นิยมไทย ใฝ่สันติ – รักษาเอกลักษณ์ความเป็นไทย ท่ามกลางความหลากหลายของวัฒนธรรมโลก และ
อยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างสันติสุข
ครูยุคใหม่ต้องคิดใหม่ คิดใหญ่ คิดบวก
1. Self awareness : มุ่งมั่นพัฒนาตน พัฒนางาน พัฒนาวิชาชีพและผู้เรียนด้วยความรัก
2. Reverse Role : เด็ก เยาวชนต้องการการสอน การอบรม การแนะนำ การให้คำปรึกษา ตามที่เขาเป็นและ
ต้องการ ไม่ใช่ตามที่เราต้องการให้เป็น
3. การให้ข้อมูลที่ผสมผสานด้วยศาสตร์และศิลป์ เพื่อให้เขาได้รับข้อมูลที่เป็นจริง เข้าใจและนำไปใช้ได้จริง
4. การเปลี่ยนแนวคิดใหม่ “สอนมากเชี่ยวชาญมาก”
“สอนสิ่งที่เด็กอยากรู้และควรรู้ ให้รอบรู้ ไม่ใช่สอนแค่เรื่องที่ครูรู้”
“สอนนอกตำรา ให้เด็กคิด-ทำ-นำเป็น แต่อยู่ในขอบเขตศีลธรรม”
วันจันทร์ที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
บำรุงสมองด้วยสองมือแม่
วันนี้คุณครูเบญจวรรณ ใจสุข (ครูเอ) มี 8 เคล็ด(ไม่) ลับ “วิธีเลี้ยงดูสมองเด็กเล็กน่ารัก” มาฝากค่ะ
1. การให้ความรักความอบอุ่น การดูแลและเลี้ยงดูลูกด้วยความรักความอบอุ่น นอกจากจะทำให้ลูกรักรู้สึกมั่นคงต่อความรักของพ่อแม่มีให้แล้ว ลูกก็จะเติบโตและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์เต็มศักยภาพ
2. สัมผัสสม่ำเสมอด้วยความรัก การนวดหรือนวดทารกด้วยความอ่อนโยนอย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 15 นาที จะช่วยให้น้ำหนักตัวของทารกปกติสมวัย ทำให้ทารกกระปรี้กระเปร่า ตื่นตัวและร้องไห้น้อยลง ที่สำคัญการอุ้มแบบแนบชิดให้ลูกแนบอยู่กับอกหัวใจแม่ จะช่วยให้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีสุขภาพแข็งแรงเร็วขึ้น
3. ใส่ใจฟังและพูดคุยกับลูก การพูดคุยหรือปฏิบัติซ้ำๆ เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นต้องพูดคุยกับลูกแม่ลูกจะโต้ตอบกันด้วยการส่งเสียงอือ อา แบบทารกก็ตาม ไม่ว่าจะทำอะไร ควรเอ่ยชื่อการกระทำและชื่อสิ่งนั้นเสมอ พร้อมกับชี้หรือหยิบให้ลูกเห็นสิ่งที่พูดหรือการกระทำนั้นๆ ด้วยทุกครั้ง ซึ่งจะช่วยให้ลูกพัฒนาและเรียนรู้เรื่องภาษา และการพูดสื่อสารสื่อความหมายได้เร็วขึ้น
4. ทำให้ทุกเวลาเป็นการเรียนรู้แสนสนุกของลูก เพราะลูกรักเติบโตและเรียนรู้ทุกเวลานาที เช่น เวลาแต่งตัวให้ลูกก็พูดคุยกับลูกไปด้วยว่านี่คือเสื้อสีแดง กางเกงสีขาวเป็นต้น แต่ให้เป็นการเรียนรู้แบบธรรมชาติไม่ใช่การบังคับขู่เข็ญให้ลูกสนใจ
5. ทักษะคณิตศาสตร์สัมพันธ์กับดนตรี เพราะสมองบริเวณที่รับรู้เรื่องดนตรีนั้นเป็นบริเวณเดียวกับที่เรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์และมิติสัมพันธ์ด้วย ดังนั้นการฟังดนตรีจึงช่วยพัฒนาทักษะด้านคณิตศาสตร์และมิติสัมพันธ์ของลูก นั่นเอง
6. อารมณ์เกี่ยวข้องกับความเครียดและการผักผ่อน ระบบสมองส่วนลิมบิกจะทำหน้าที่ดูแลการแสดงออกของอารมณ์และช่วยให้เราตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ เช่น วิ่ง กระโดด ร้องไห้ เป็นต้น ถ้าลูกรักถูกละเลยและมีความทุกข์จะมีปัญหาในการเรียนและมีความประพฤติที่ไม่ดีในภายหลังได้
7. การออกกำลังกาย ลูกรักต้องการออกกำลังกายในทุกส่วนของร่างกายไม่ว่าจะมีขนาดเล็ก เช่น นิ้ว ส้นเท้า เป็นต้นและอวัยวะขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงและกำลัง เช่น ขาเป็นต้น ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้เด็กๆได้เล่น ได้ทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมากๆ ตามความเหมาะสม
8. พ่อแม่คือกระจกสะท้อนลูก ลูกรักจะซึมซับพฤติกรรมของพ่อแม่ / ผู้ใหญ่ที่อยู่รอบข้าง ถ้าพ่อแม่เสียงดังลูกก็จะเสียงดังด้วย ถ้าพ่อแม่สัมผัสลูกด้วยความอ่อนโยนนุ่มนวล ลูกก็จะเรียนรู้ที่จะประพฤติปฏิบัติต่อคนอื่นด้วยความอ่อนโยนนุ่มนวลเช่นกัน ฯลฯ ดังนั้น พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ต้องตระหนักว่าทุกๆการกระทำของเรา ทั้งดีและไม่ดี ลูกจะดูเป็นแบบอย่างและประพฤติปฏิบัติตาม
1. การให้ความรักความอบอุ่น การดูแลและเลี้ยงดูลูกด้วยความรักความอบอุ่น นอกจากจะทำให้ลูกรักรู้สึกมั่นคงต่อความรักของพ่อแม่มีให้แล้ว ลูกก็จะเติบโตและมีพัฒนาการที่สมบูรณ์เต็มศักยภาพ
2. สัมผัสสม่ำเสมอด้วยความรัก การนวดหรือนวดทารกด้วยความอ่อนโยนอย่างน้อย 3 ครั้งต่อวัน ครั้งละ 15 นาที จะช่วยให้น้ำหนักตัวของทารกปกติสมวัย ทำให้ทารกกระปรี้กระเปร่า ตื่นตัวและร้องไห้น้อยลง ที่สำคัญการอุ้มแบบแนบชิดให้ลูกแนบอยู่กับอกหัวใจแม่ จะช่วยให้ทารกที่คลอดก่อนกำหนดมีสุขภาพแข็งแรงเร็วขึ้น
3. ใส่ใจฟังและพูดคุยกับลูก การพูดคุยหรือปฏิบัติซ้ำๆ เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นต้องพูดคุยกับลูกแม่ลูกจะโต้ตอบกันด้วยการส่งเสียงอือ อา แบบทารกก็ตาม ไม่ว่าจะทำอะไร ควรเอ่ยชื่อการกระทำและชื่อสิ่งนั้นเสมอ พร้อมกับชี้หรือหยิบให้ลูกเห็นสิ่งที่พูดหรือการกระทำนั้นๆ ด้วยทุกครั้ง ซึ่งจะช่วยให้ลูกพัฒนาและเรียนรู้เรื่องภาษา และการพูดสื่อสารสื่อความหมายได้เร็วขึ้น
4. ทำให้ทุกเวลาเป็นการเรียนรู้แสนสนุกของลูก เพราะลูกรักเติบโตและเรียนรู้ทุกเวลานาที เช่น เวลาแต่งตัวให้ลูกก็พูดคุยกับลูกไปด้วยว่านี่คือเสื้อสีแดง กางเกงสีขาวเป็นต้น แต่ให้เป็นการเรียนรู้แบบธรรมชาติไม่ใช่การบังคับขู่เข็ญให้ลูกสนใจ
5. ทักษะคณิตศาสตร์สัมพันธ์กับดนตรี เพราะสมองบริเวณที่รับรู้เรื่องดนตรีนั้นเป็นบริเวณเดียวกับที่เรียนรู้เรื่องคณิตศาสตร์และมิติสัมพันธ์ด้วย ดังนั้นการฟังดนตรีจึงช่วยพัฒนาทักษะด้านคณิตศาสตร์และมิติสัมพันธ์ของลูก นั่นเอง
6. อารมณ์เกี่ยวข้องกับความเครียดและการผักผ่อน ระบบสมองส่วนลิมบิกจะทำหน้าที่ดูแลการแสดงออกของอารมณ์และช่วยให้เราตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ เช่น วิ่ง กระโดด ร้องไห้ เป็นต้น ถ้าลูกรักถูกละเลยและมีความทุกข์จะมีปัญหาในการเรียนและมีความประพฤติที่ไม่ดีในภายหลังได้
7. การออกกำลังกาย ลูกรักต้องการออกกำลังกายในทุกส่วนของร่างกายไม่ว่าจะมีขนาดเล็ก เช่น นิ้ว ส้นเท้า เป็นต้นและอวัยวะขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงและกำลัง เช่น ขาเป็นต้น ดังนั้นจึงควรส่งเสริมให้เด็กๆได้เล่น ได้ทำกิจกรรมที่ได้เคลื่อนไหวร่างกายมากๆ ตามความเหมาะสม
8. พ่อแม่คือกระจกสะท้อนลูก ลูกรักจะซึมซับพฤติกรรมของพ่อแม่ / ผู้ใหญ่ที่อยู่รอบข้าง ถ้าพ่อแม่เสียงดังลูกก็จะเสียงดังด้วย ถ้าพ่อแม่สัมผัสลูกด้วยความอ่อนโยนนุ่มนวล ลูกก็จะเรียนรู้ที่จะประพฤติปฏิบัติต่อคนอื่นด้วยความอ่อนโยนนุ่มนวลเช่นกัน ฯลฯ ดังนั้น พ่อแม่หรือผู้ใหญ่ต้องตระหนักว่าทุกๆการกระทำของเรา ทั้งดีและไม่ดี ลูกจะดูเป็นแบบอย่างและประพฤติปฏิบัติตาม
วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553
การเรียนแบบสองภาษา (Bilingual Program)
การเรียนแบบสองภาษา
(Bilingual Program)
ประชานิยม หรือ ทางออกการศึกษาไทย
ปัจจุบันกระแสความนิยมของผู้ปกครองในการส่งบุตรลานได้ศึกษา
ประชานิยม หรือ ทางออกการศึกษาไทย
ปัจจุบันกระแสความนิยมของผู้ปกครองในการส่งบุตรลานได้ศึกษา
เล่าเรียนในแผนกสองภาษา หรือแม้แต่การเรียนพิเศษเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษาอังกฤษหรือภาษาต่างประเทศอื่นๆ นั้นกำลังมาแรง ทำให้โรงเรียนที่สอนแบบสอง (หรือสาม) ภาษานั้นมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับทั้งในกรุงเทพฯ และในภูมิภาคต่างๆ จนหลายท่านตั้งคำถามขึ้นว่า การเลือกให้บุตรหลานได้เรียนแบบสองภาษาในยุดปัจจุบันนี้จำเป็นหรือไม่ ข้อดีข้อเสียเป็นอย่างไร จะมีเงินพอจ่ายหรือเปล่า และหรือการเรียนแบบสองภาษานี้เป็นเพียงกระแส “ประชานิยม” หรือว่ามันเป็น “ทางออกของการศึกษาไทย” ในอนาคตอันใกล้นี้
ส่วนหนึ่งของกระแสความนิยมการเรียนการสอนแบบสองภาษาที่เพิ่มมากขึ้นนั้น มาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของสังคมโลกาภิวัตน์ อีกทั้งทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในอนาคต รวมถึงแผนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Projects) การเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA (Asian Free Trade Area) การติดต่อธุรกิจค้าขายมากขึ้นกับต่างชาติ หรือแม้แต่นโยบายของรัฐบาลที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำและศูนย์กลางของกลุ่มประเทศอาเซียน (Asian Hub) โดยการมุ่งหวังให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาคอาเซียน (Asian Education Hub) เป็นต้น
นอกจากโรงเรียนนานาชาติ (International School) แล้ว สถานศึกษาในประเทศไทยซึ่งจัดการเรียนการสอนแบบสองภาษา (Bilingual School) อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ประเภทโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program, EP หรือที่เรียกกันว่า Bilingual Program) ในระดับชั้นต่างๆ ประเภทโรงเรียนที่จัดโครงการ Mini English (Bilingual) Program ซึ่งสอนแบบสองภาษาในบางรายวิชา เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ หรือวิชาสุขศึกษา เป็นต้น และประเภทโรงเรียนที่จัดโครงการพัฒนาศักยภาพพิเศษแบบเข้มข้นในสาขาวิชาต่างๆ (Intensive Program, IP)
การเรียนการสอนแบบสองภาษา (Bilingual Education) และการเรียนรู้ภาษา (Language Learning) ต่างกันอย่างไร? การเรียนภาษา เช่น ภาษาอังกฤษนั้นเป็นการเรียนรู้ทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ส่วนการเรียนการสอนแบบสองภาษานั้น เป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระวิชาผ่านการใช้ภาษา 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษไปพร้อมๆ กัน
หลายคนอาจสงสัยหรือสับสนเกี่ยวกับคำที่ใช้ คือ English Program และ Bilingual Program เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? จริงๆ แล้วคำว่า “การศึกษาแบบสองภาษา (Bilingual Education)” เป็นคำสากลที่ใช้กันทั่วโลกแม้ว่าจะถูกตีความหรือแปลความกันไปแตกต่างกัน ส่วนคำว่า “English Program (EP)” นั้นเป็นคำที่ใช้กันในแวดวงการศึกษาไทย ซึ่งหมายความถึง “โรงเรียนสองภาษา (Bilingual School)” หรือว่าโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการแบบหรือ “แผนกสองภาษา (Bilingual Program)” ซึ่งเป็นคำที่นิยมใช้กัน เป็นต้นในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง (English as a Second Language) ในการติดต่อสื่อสาร
เหตุที่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา การเรียนการสอนแบบสองภาษา (Bilingual Education) ได้รับความนิยมและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ทั้งโรงเรียนในเขตกรุงเทพฯและส่วนภูมิภาค ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 200 แห่ง ก็เพราะการเรียนการสอนแบบสองภาษานี้สามารถ “เติมเต็มช่องว่าง” ระหว่างการเรียนภาษาอังกฤษแบบไทยเดิมๆ และการเรียนโรงเรียนนานาชาติทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งน้อยคนนักจะมีโอกาสได้เรียนเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ด้วยเหตุนี้ ครอบครัวฐานะปานกลางจึงมีความสามารถส่งบุตรหลานเข้าเรียนในแผนกสองภาษาได้ อีกทั้งสมาชิกในครอบครัวก็ยังได้ใกล้ชิดกัน รวมถึงไม่ต้องกังวลใจด้วยว่าบุตรหลานที่ส่งไปศึกษายังต่างประเทศนั้นจะหลงลืมวัฒนธรรมประเพณีไทยไป ฉะนั้น การเรียนการสอนแบบสองภาษาในปัจจุบันจึงเสมือนเป็น “คำตอบ” ของพ่อแม่ยุคใหม่ ที่ต้องการให้บุตรหลานได้เรียนรู้ความเป็นสากลแต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของไทยได้ในขณะเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นการวางฐานอนาคตบุตรหลานให้พร้อมสำหรับสังคมโลกไร้พรหมแดนแห่งอนาคตอันใกล้นี้
สถานศึกษาที่ใช้การเรียนการสอนแบบสองภาษานั้น นักเรียนจะได้เรียนรู้ไปด้วยกันทั้งภาษาแม่ (ภาษาไทย) และภาษาที่สอง (ภาษาอังกฤษ) อีกทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษต่างถูกใช้ในการเรียนการสอนตามเนื้อหาสาระวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา ฯลฯ ไปพร้อมๆ กัน ดังนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองจึงมั่นใจได้ว่าเมื่อท่านส่งบุตรหลานเข้าเรียนแผนกสองภาษาแล้ว ลูกหลานของท่านมีศักยภาพในการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อีกทั้งเป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานซึ่งกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง บุคลากรผู้สอนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติก็ได้รับการคัดสรรและเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี และที่สำคัญลูกหลานของท่านมีความสุขและสนุกไปกับบรรยากาศการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
ประโยชน์สำหรับการเรียนแบบสองภาษาโดยอาจารย์ต่างชาติเจ้าของภาษา (Native Speakers) นั้น นอกจากผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในเนื้อหาสาระวิชา มีโอกาสฝึกฝนทักษะสำเนียงภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องชัดเจนแล้ว ยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม ค่านิยม ความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างนักเรียนและอาจารย์ชาวต่างชาติอีกด้วย เช่น เรื่องอาหารการกิน การแต่งกาย ศิลปะ วรรณกรรม หรือแม้แต่ความเชื่อซึ่งถือเป็นรากฐานของแต่ละวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์อีกทั้งทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ยอมรับ และเคารพความแตกต่างของคนในวัฒนธรรมอื่นได้เป็นอย่างดี
นักเรียนสองภาษามักจะมีข้อได้เปรียบซึ่งแตกต่างจากนักเรียนภาคปกติ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการพูดอ่านเขียนได้สองภาษา ความเข้าใจลึกซึ้งในวัฒนธรรมต่างๆ ได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ การรู้จักสื่อสารอย่างฉลาด มีความมั่นใจในตัวเอง มีความมั่นคงในเอกลักษณ์ของตนเอง สามารถเรียนภาษาที่สามได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเป็นการวางพื้นฐานอนาคตที่มั่นคง การศึกษาต่อ หรือการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ เป็นต้น
เหตุใดจึงมักเรียนดนตรีและศิลปะ (Music & Arts) ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนแบบสองภาษา? แท้ที่จริงแล้วการฟัง ร้องเพลง หรือดูภาพยนตร์ภาษาอังกฤษนั้น เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ดีที่สุด นอกจากดนตรีและศิลปะช่วยสร้างเสน่ห์ส่วนบุคคลให้กับผู้เรียนแล้ว ยังช่วยฝึกฝนสมาธิ ความมุมานะอดทน ความสามัคคี การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ช่วยขัดเกลาจิตใจให้อ่อนโยน สร้างสรรค์จินตนากร บำบัดสภาวะทางจิตให้สมดุล อีกทั้งพัฒนาประสิทธิภาพของเซลล์สมองอีกด้วย
เด็กวัยใดที่สามารถเริ่มเรียนแบบสองภาษาได้ คำตอบคือ เมื่อเด็กเริ่มหัดพูดก็สามารถเริ่มสอนภาษาได้เลย แต่ช่วงอายุที่เหมาะสม คือ ช่วง 3-4 ขวบ เพราะเป็นวัยที่เด็กเริ่มพูดและซักถาม เริ่มสนใจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กเล็กจะรับรู้ภาษาได้ง่ายและเป็นธรรมชาติ เรียนรู้ประสบการณ์โดยการวิ่งเล่น กระโดด ระบายสี เล่นกิจกรรมต่างๆ เด็กเล็กจะไม่กังวลถึงข้อผิดพลาดในการใช้ภาษา พวกเด็กสนใจเพียงการสื่อสารข้อมูลให้คนอื่นได้ทราบและการรับรู้ข้อมูลที่พวกเขาต้องการ
มีการคาดการณ์ว่านิสิตจบใหม่ในอีก 10 ปีข้างหน้า หากรู้เพียง 2 ภาษาแค่นั้นมีโอกาสตกงานสูง ดังนั้น หลายๆ สถานศึกษาในปัจจุบันจึงส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาที่สาม เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาฝรั่งเศส เป็นต้น ไม่ว่าการเรียนสองภาษาจะเป็นการทำกระแสสังคมหรือไม่ก็ตาม แต่สำหรับนักการศึกษาหลายๆ คนแล้ว นี่คือโอกาสและทางเลือกสำคัญของการศึกษาไทยในยุคปัจจุบันและอนาคต นี่อาจเป็นคำตอบหรือทางออกของวังวนการศึกษาของประเทศไทย
ส่วนหนึ่งของกระแสความนิยมการเรียนการสอนแบบสองภาษาที่เพิ่มมากขึ้นนั้น มาจากการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดของสังคมโลกาภิวัตน์ อีกทั้งทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของผู้คนในอนาคต รวมถึงแผนการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐ (Mega Projects) การเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน หรือ AFTA (Asian Free Trade Area) การติดต่อธุรกิจค้าขายมากขึ้นกับต่างชาติ หรือแม้แต่นโยบายของรัฐบาลที่มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยก้าวขึ้นเป็นผู้นำและศูนย์กลางของกลุ่มประเทศอาเซียน (Asian Hub) โดยการมุ่งหวังให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางการศึกษาของภูมิภาคอาเซียน (Asian Education Hub) เป็นต้น
นอกจากโรงเรียนนานาชาติ (International School) แล้ว สถานศึกษาในประเทศไทยซึ่งจัดการเรียนการสอนแบบสองภาษา (Bilingual School) อาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท คือ ประเภทโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ (English Program, EP หรือที่เรียกกันว่า Bilingual Program) ในระดับชั้นต่างๆ ประเภทโรงเรียนที่จัดโครงการ Mini English (Bilingual) Program ซึ่งสอนแบบสองภาษาในบางรายวิชา เช่น วิชาคณิตศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์ หรือวิชาสุขศึกษา เป็นต้น และประเภทโรงเรียนที่จัดโครงการพัฒนาศักยภาพพิเศษแบบเข้มข้นในสาขาวิชาต่างๆ (Intensive Program, IP)
การเรียนการสอนแบบสองภาษา (Bilingual Education) และการเรียนรู้ภาษา (Language Learning) ต่างกันอย่างไร? การเรียนภาษา เช่น ภาษาอังกฤษนั้นเป็นการเรียนรู้ทักษะการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ส่วนการเรียนการสอนแบบสองภาษานั้น เป็นการเรียนรู้เนื้อหาสาระวิชาผ่านการใช้ภาษา 2 ภาษา คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษไปพร้อมๆ กัน
หลายคนอาจสงสัยหรือสับสนเกี่ยวกับคำที่ใช้ คือ English Program และ Bilingual Program เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร? จริงๆ แล้วคำว่า “การศึกษาแบบสองภาษา (Bilingual Education)” เป็นคำสากลที่ใช้กันทั่วโลกแม้ว่าจะถูกตีความหรือแปลความกันไปแตกต่างกัน ส่วนคำว่า “English Program (EP)” นั้นเป็นคำที่ใช้กันในแวดวงการศึกษาไทย ซึ่งหมายความถึง “โรงเรียนสองภาษา (Bilingual School)” หรือว่าโรงเรียนที่จัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการแบบหรือ “แผนกสองภาษา (Bilingual Program)” ซึ่งเป็นคำที่นิยมใช้กัน เป็นต้นในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง (English as a Second Language) ในการติดต่อสื่อสาร
เหตุที่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา การเรียนการสอนแบบสองภาษา (Bilingual Education) ได้รับความนิยมและเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ทั้งโรงเรียนในเขตกรุงเทพฯและส่วนภูมิภาค ซึ่งปัจจุบันมีกว่า 200 แห่ง ก็เพราะการเรียนการสอนแบบสองภาษานี้สามารถ “เติมเต็มช่องว่าง” ระหว่างการเรียนภาษาอังกฤษแบบไทยเดิมๆ และการเรียนโรงเรียนนานาชาติทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งน้อยคนนักจะมีโอกาสได้เรียนเนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ด้วยเหตุนี้ ครอบครัวฐานะปานกลางจึงมีความสามารถส่งบุตรหลานเข้าเรียนในแผนกสองภาษาได้ อีกทั้งสมาชิกในครอบครัวก็ยังได้ใกล้ชิดกัน รวมถึงไม่ต้องกังวลใจด้วยว่าบุตรหลานที่ส่งไปศึกษายังต่างประเทศนั้นจะหลงลืมวัฒนธรรมประเพณีไทยไป ฉะนั้น การเรียนการสอนแบบสองภาษาในปัจจุบันจึงเสมือนเป็น “คำตอบ” ของพ่อแม่ยุคใหม่ ที่ต้องการให้บุตรหลานได้เรียนรู้ความเป็นสากลแต่ยังคงรักษาเอกลักษณ์ของไทยได้ในขณะเดียวกัน อีกทั้งยังเป็นการวางฐานอนาคตบุตรหลานให้พร้อมสำหรับสังคมโลกไร้พรหมแดนแห่งอนาคตอันใกล้นี้
สถานศึกษาที่ใช้การเรียนการสอนแบบสองภาษานั้น นักเรียนจะได้เรียนรู้ไปด้วยกันทั้งภาษาแม่ (ภาษาไทย) และภาษาที่สอง (ภาษาอังกฤษ) อีกทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษต่างถูกใช้ในการเรียนการสอนตามเนื้อหาสาระวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ สุขศึกษา ฯลฯ ไปพร้อมๆ กัน ดังนี้ พ่อแม่ผู้ปกครองจึงมั่นใจได้ว่าเมื่อท่านส่งบุตรหลานเข้าเรียนแผนกสองภาษาแล้ว ลูกหลานของท่านมีศักยภาพในการสื่อสารได้ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ อีกทั้งเป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานซึ่งกระทรวงศึกษาธิการให้การรับรอง บุคลากรผู้สอนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติก็ได้รับการคัดสรรและเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี และที่สำคัญลูกหลานของท่านมีความสุขและสนุกไปกับบรรยากาศการเรียนรู้ทั้งในและนอกห้องเรียน
ประโยชน์สำหรับการเรียนแบบสองภาษาโดยอาจารย์ต่างชาติเจ้าของภาษา (Native Speakers) นั้น นอกจากผู้เรียนจะได้เรียนรู้ในเนื้อหาสาระวิชา มีโอกาสฝึกฝนทักษะสำเนียงภาษาอังกฤษอย่างถูกต้องชัดเจนแล้ว ยังเป็นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรม ค่านิยม ความคิดเห็นที่แตกต่างกันระหว่างนักเรียนและอาจารย์ชาวต่างชาติอีกด้วย เช่น เรื่องอาหารการกิน การแต่งกาย ศิลปะ วรรณกรรม หรือแม้แต่ความเชื่อซึ่งถือเป็นรากฐานของแต่ละวัฒนธรรม สิ่งเหล่านี้ถือเป็นการเปิดโลกทัศน์อีกทั้งทำให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ยอมรับ และเคารพความแตกต่างของคนในวัฒนธรรมอื่นได้เป็นอย่างดี
นักเรียนสองภาษามักจะมีข้อได้เปรียบซึ่งแตกต่างจากนักเรียนภาคปกติ ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการพูดอ่านเขียนได้สองภาษา ความเข้าใจลึกซึ้งในวัฒนธรรมต่างๆ ได้ดี มีความคิดสร้างสรรค์ การรู้จักสื่อสารอย่างฉลาด มีความมั่นใจในตัวเอง มีความมั่นคงในเอกลักษณ์ของตนเอง สามารถเรียนภาษาที่สามได้ง่ายขึ้น อีกทั้งเป็นการวางพื้นฐานอนาคตที่มั่นคง การศึกษาต่อ หรือการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติ เป็นต้น
เหตุใดจึงมักเรียนดนตรีและศิลปะ (Music & Arts) ควบคู่ไปกับการเรียนการสอนแบบสองภาษา? แท้ที่จริงแล้วการฟัง ร้องเพลง หรือดูภาพยนตร์ภาษาอังกฤษนั้น เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ภาษาอังกฤษที่ดีที่สุด นอกจากดนตรีและศิลปะช่วยสร้างเสน่ห์ส่วนบุคคลให้กับผู้เรียนแล้ว ยังช่วยฝึกฝนสมาธิ ความมุมานะอดทน ความสามัคคี การทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ช่วยขัดเกลาจิตใจให้อ่อนโยน สร้างสรรค์จินตนากร บำบัดสภาวะทางจิตให้สมดุล อีกทั้งพัฒนาประสิทธิภาพของเซลล์สมองอีกด้วย
เด็กวัยใดที่สามารถเริ่มเรียนแบบสองภาษาได้ คำตอบคือ เมื่อเด็กเริ่มหัดพูดก็สามารถเริ่มสอนภาษาได้เลย แต่ช่วงอายุที่เหมาะสม คือ ช่วง 3-4 ขวบ เพราะเป็นวัยที่เด็กเริ่มพูดและซักถาม เริ่มสนใจสิ่งต่างๆรอบตัว เด็กเล็กจะรับรู้ภาษาได้ง่ายและเป็นธรรมชาติ เรียนรู้ประสบการณ์โดยการวิ่งเล่น กระโดด ระบายสี เล่นกิจกรรมต่างๆ เด็กเล็กจะไม่กังวลถึงข้อผิดพลาดในการใช้ภาษา พวกเด็กสนใจเพียงการสื่อสารข้อมูลให้คนอื่นได้ทราบและการรับรู้ข้อมูลที่พวกเขาต้องการ
มีการคาดการณ์ว่านิสิตจบใหม่ในอีก 10 ปีข้างหน้า หากรู้เพียง 2 ภาษาแค่นั้นมีโอกาสตกงานสูง ดังนั้น หลายๆ สถานศึกษาในปัจจุบันจึงส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาที่สาม เช่น ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น หรือภาษาฝรั่งเศส เป็นต้น ไม่ว่าการเรียนสองภาษาจะเป็นการทำกระแสสังคมหรือไม่ก็ตาม แต่สำหรับนักการศึกษาหลายๆ คนแล้ว นี่คือโอกาสและทางเลือกสำคัญของการศึกษาไทยในยุคปัจจุบันและอนาคต นี่อาจเป็นคำตอบหรือทางออกของวังวนการศึกษาของประเทศไทย
และนี่คือ การเรียนการสอนแบบสองภาษา (Bilingual Education) การศึกษาทางเลือกของคนมีวิสัยทัศน์กว้างไกลสำหรับบุตรหลานในอนาคต
โดย บาทหลวงสมเกียรติ จูรอด
ผู้จัดการโรงเรียนดรุณากาญจนบุรี
โดย บาทหลวงสมเกียรติ จูรอด
ผู้จัดการโรงเรียนดรุณากาญจนบุรี
5 July 2010
วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553
เลื่อนสรุปตัวชี้วัดรอบ 3 ถึง ก.ย.2553
นายชาญณรงค์ พรรุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) เปิดเผยว่า การประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษารอบสาม ปี 2554 – 2558 จะมีสถานศึกษาเข้ารับการประเมินทั้งสิ้น 61,510 แห่ง ซึ่งที่ผ่านมา สมศ.ได้ทดลองนำร่อง ใช้หลักเกณฑ์การประเมินรอบสาม ทั้งระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน การอาชีวศึกษา และการอุดมศึกษาพบว่ายังมีส่วนที่ต้องปรับปรุง อาทิ เรื่องการเก็บข้อมูลย้อนหลัง 3 ปี บางสถานศึกษาไม่มีข้อมูลเพื่อนำมาประกอบการประเมิน เป็นต้น
ดังนั้น สมศ. ต้องนำข้อค้นพบที่ได้จากการนำร่อง และข้อเสนอแนะจากผู้ทรงคุณวุฒิมาปรับปรุงตัวบ่งชี้ใหม่ โดยจะลดปริมาณตัวบ่งชี้เหลือเท่าที่จำเป็น และวัดในสิ่งที่เป็นไปได้ ให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง และสถานการณ์บ้านเมืองที่เปลี่ยนไป ซึ่งเมื่อเร็วๆนี้ คณะกรรมการบริหาร สมศ. ได้มีมติเห็นชอบให้ขยายเวลาการจัดทำตัวชี้วัดรอบสามออกไปอีก 3 เดือน จากเดิมที่กำหนดว่าจะต้องเสร็จในเดือนมิถุนายนนี้ ดังนั้น คาดว่าภายในวันที่ 30 กันยายน ทุกอย่างจะชัดเจน ทั้งเรื่องตัวชี้วัด คู่มือผู้ประเมิน และคู่มือการรับการประเมิน ก่อนที่จะเริ่มออกประเมินรอบที่สาม ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2554
ที่มา : หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน หน้า 22 วันที่ 31 พฤษภาคม 2553
ครูพันธุ์ C ครูดี ครูเก่ง ของเด็กยุคใหม่
1. C-Content มีความเชี่ยวชาญ แม่นยำในเนื้อหาวิชา หรือศาสตร์ที่ตนเองเป็นผู้สอน
2. C-Computer(ICT) มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการสอน การผลิตสื่อ การสืบค้นแสวงหา แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเพื่อการสื่อสาร
3. C-Constructionist สร้างสรรค์ความรู้ใหม่ องค์ความรู้ใหม่ๆ นวัตกรรม สื่อ เทคนิควิธีการ แผนการเรียนรู้ใหม่ๆ เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียน
4. C-Connectivity มีทักษะในการจัดกิจกรรมเชื่อมโยงผู้เรียนกับสภาพแวดล้อม ที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ ได้ทุกสถานที่ทุกเวลาทุกโอกาส
5. C-Collaboration มีทักษะการเป็นโค้ช หรือ ที่ปรึกษาที่ดีในการเรียนรู้ของผู้เรียน สามารถช่วยสอน เสนอแนะผู้เรียนในการสร้างฐานการเรียนรู้(scaffold) ได้อย่างเหมาะสม และต่อเนื่อง
6. C-Communication มีทักษะของเทคนิคการสื่อสารที่ดี สื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่นการอธิบายความ การยกตัวอย่าง รวมถึงการเลือกใช้สื่อ(media)ต่างๆที่หลากหลายในการส่งผ่านเนื้อหา ข้อมูลความรู้ คุณธรรมไปสู่ผู้เรียนได้อย่างมีประสิทธิผล
7. C-Creativity เป็นผู้ที่มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ในการส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียน มีจินตนาการและความรอบรู้ เป็นนักออกแบบสิ่งแวดล้อมการเรียนรู้ที่เอี้อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตัวเอง
8. C-Caring มีความรัก ความเมตตา ความปรารถนาดีและห่วงใยผู้เรียนอย่างจริงใจ
9. C-Cultural รู้วัฒนธรรมเพื่อนบ้าน รู้วัฒนธรรมการสื่อสาร สามารถถ่ายทอดและเป็นแบบอย่างที่ดีได้
วันอังคารที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2553
วิทยากรกระบวนการ โครงการเล่านิทาน อ่านและเล่นกับลูก
นางกิตติภา ศิโรรัตน์ธัญโชค
ผู้อำนวยการ เนอสเซอรี่ บ้านแม่พระอุปถัมภ์
(ต.บ้านเลือก อ.โพธาราม จ.ราชบุรี)
1 ในกรรมการเครือข่ายครูดีโพธาราม2010
ทำหน้าที่วิทยากรกระบวนการโครงการเล่านิทาน อ่านและเล่นกับลูก
ช่วยศูนย์ฯโพรงมะเดื่อ อ.เมืองนครปฐม อบรมชาวบ้านกลุ่มเป้าหมาย
ภายใต้โครงการสายใยรักแห่งครอบครัว
ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
วันจันทร์ที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553
ครูดี สอนดี ใจดีมีเมตตา
"การเป็นครูนั้นไซร้ไม่ลำบาก
แต่สอนดี นั้นยากเป็นหนักหนา
เพราะต้องใช้ศิลปวิทยา
อีกทั้งความเมตตาในจิตใจ..."
..."ครูผู้สอน" เป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้เรียนมากที่สุด และเป็นผู้มีส่วนในการพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนโดยตรง เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ครูผู้สอนจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนแนวคิดหรือทัศนคติ ในการจัดการเรียนการสอน ที่เน้นศักยภาพของผู้เรียนเป็นสำคัญ มีการปฏิรูปกระบวนการจัดการเรียนการสอนของตนเอง เพื่อนำไปสู่การปฏิรูปการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างแท้จริง เพื่อพัฒนาความเป็น "ครูมืออาชีพในยุคใหม่" เป็น "ครูดี มีคุณธรรม สอนดี มีคุณภาพ"อย่างแท้จริง...
...ครูยุคใหม่(ดีและเก่ง) ต้องมี 8 C ...อะไรบ้าง
โปรดติดตาม ที่นี่ เร็วๆนี้.......
...ขอเรียนเชิญ "ครูและผู้บริหารทุกท่าน" ทุกสังกัด และ "สมาชิกเครือข่ายครูดี อำเภอโพธาราม รุ่น 1 วัดเขาวัง(พระอารามหลวง)" ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เผยแพร่พลงาน สื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยีการเรียนการสอน แนวคิดการเสริมร้างคุณธรรมจริยธรรม การพัฒนาวิชาชีพครู การพัฒนาผู้เรียน การพัฒนาชุมชนท้องถิ่น สังคมและประเทศชาติ...
เรื่องต้องรู้ของครูและผู้บริหารสถานศึกษา
มาตรฐานและตัวบ่งชี้เพื่อการประเมินคุณภาพภายนอก รอบที่สาม
(พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ น้ำหนักร้อยละ 15
1.1 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียน ที่ปฏิบัติหน้าที่นักเรียนที่ดีของโรงเรียน
น้ำหนักร้อยละ 5
1.2 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียน ที่เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ผู้ปกครอง น้ำหนักร้อยละ 5
1.3 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียน ที่เป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนและสังคม
น้ำหนักร้อยละ 5
2. ผู้เรียนมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ที่ดี น้ำหนักร้อยละ 10
2.1 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีสุขภาพดี มีน้ำหนัก ส่วนสูง และสมรรถภาพทาง
กายตามเกณฑ์ รวมทั้ง รู้จักดูแลตนเองให้มีความปลอดภัย น้ำหนักร้อยละ 5
2.2 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีสุขภาพดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น และมี
สุนทรียภาพ น้ำหนักร้อยละ 5
3. ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน น้ำหนักร้อยละ 15
3.1 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียน มีนิสัยรักการอ่าน สนใจ แสวงหาความรู้จากแหล่ง
ต่างๆ รอบตัวและสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ น้ำหนักร้อยละ 5
3.2 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียน สามารถเรียนรู้เป็นทีมได้ (TEAM LEARNING)
น้ำหนักร้อยละ 5
3.3 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียน สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้
น้ำหนักร้อยละ5
4. ผู้เรียนคิดเป็น น้ำหนักร้อยละ 15
4.1 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดเป็นระบบ
น้ำหนักร้อยละ 5
4.2 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์
น้ำหนักร้อยละ 5
4.3 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
น้ำหนักร้อยละ 5
5. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตร น้ำหนักร้อยละ 20
5.1 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของผู้เรียน ในระดับชั้น ป.3 ป.6
ม.3 และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 3
5.2 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของผู้เรียน ในระดับชั้น ป.3
ป.6 ม.3 และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 3
5.3 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของผู้เรียน ในระดับชั้น ป.3
ป.6 ม.3 และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 3
5.4 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของ
ผู้เรียน ในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 3
5.5 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของผู้เรียน ใน
ระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 2
5.6 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของผู้เรียน ในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3
และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 2
5.7 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของผู้เรียน
ในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 2
5.7 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของผู้เรียน ในระดับชั้น
ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 2
6 การบริหารและการพัฒนาสถานศึกษา น้ำหนักร้อยละ 15
6.1 ระดับความสำเร็จของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการกำกับดูแล และขับเคลื่อนการดำเนิน
งานของสถานศึกษา น้ำหนักร้อยละ 3
6.2 ระดับประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน และการจัดการ
ศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถานศึกษาและกลุ่มสาระการเรียนรู้ น้ำหนักร้อยละ 3
6.3 ปริมาณและคุณภาพของครู น้ำหนักร้อยละ 3
6.3.1 สถานศึกษามีครูเพียงพอ น้ำหนักร้อยละ 1
6.3.2 ครูมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ น้ำหนักร้อยละ 1
6.3.3 ครูมีสมรรถนะตามที่กำหนด น้ำหนักร้อยละ 1
6.4 ประสิทธิผลการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญใน 8 กลุ่มสาระ น้ำหนักร้อยละ 6 ได้แก่
6.4.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย น้ำหนักร้อยละ 1
6.4.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ น้ำหนักร้อยละ 1
6.4.3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ น้ำหนักร้อยละ 1
6.4.4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม น้ำหนักร้อยละ 1
6.4.5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา น้ำหนักร้อยละ 1
6.4.6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ น้ำหนักร้อยละ 1
6.4.7 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี น้ำหนักร้อยละ 1
6.4.8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ น้ำหนักร้อยละ 1
7. การประกันและพัฒนาคุณภาพภายใน น้ำหนักร้อยละ 10
7.1 ระบบและกลไกในการประกันคุณภาพภายใน น้ำหนักร้อยละ 3
7.2 ผลการประเมินการประกันคุณภาพภายในโดยต้นสังกัด น้ำหนักร้อยละ 3
7.3 การนำผลประเมินภายในไปใช้พัฒนาคุณภาพ น้ำหนักร้อยละ 4
(รวมค่าน้ำหนัก 100)
kudee2010@gmail.com บันทึก
(พ.ศ. 2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน
1. ผู้เรียนมีคุณธรรมจริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ น้ำหนักร้อยละ 15
1.1 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียน ที่ปฏิบัติหน้าที่นักเรียนที่ดีของโรงเรียน
น้ำหนักร้อยละ 5
1.2 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียน ที่เป็นลูกที่ดีของพ่อแม่ผู้ปกครอง น้ำหนักร้อยละ 5
1.3 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียน ที่เป็นสมาชิกที่ดีของชุมชนและสังคม
น้ำหนักร้อยละ 5
2. ผู้เรียนมีสุขภาพกาย และสุขภาพจิต ที่ดี น้ำหนักร้อยละ 10
2.1 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีสุขภาพดี มีน้ำหนัก ส่วนสูง และสมรรถภาพทาง
กายตามเกณฑ์ รวมทั้ง รู้จักดูแลตนเองให้มีความปลอดภัย น้ำหนักร้อยละ 5
2.2 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีสุขภาพดี มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น และมี
สุนทรียภาพ น้ำหนักร้อยละ 5
3. ผู้เรียนมีความใฝ่รู้ใฝ่เรียน น้ำหนักร้อยละ 15
3.1 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียน มีนิสัยรักการอ่าน สนใจ แสวงหาความรู้จากแหล่ง
ต่างๆ รอบตัวและสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองได้ น้ำหนักร้อยละ 5
3.2 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียน สามารถเรียนรู้เป็นทีมได้ (TEAM LEARNING)
น้ำหนักร้อยละ 5
3.3 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียน สามารถใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้
น้ำหนักร้อยละ5
4. ผู้เรียนคิดเป็น น้ำหนักร้อยละ 15
4.1 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดเป็นระบบ
น้ำหนักร้อยละ 5
4.2 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดสร้างสรรค์
น้ำหนักร้อยละ 5
4.3 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังของผู้เรียนที่มีความสามารถในการคิดแก้ปัญหา
น้ำหนักร้อยละ 5
5. ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ตามหลักสูตร น้ำหนักร้อยละ 20
5.1 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยของผู้เรียน ในระดับชั้น ป.3 ป.6
ม.3 และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 3
5.2 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของผู้เรียน ในระดับชั้น ป.3
ป.6 ม.3 และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 3
5.3 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ของผู้เรียน ในระดับชั้น ป.3
ป.6 ม.3 และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 3
5.4 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมของ
ผู้เรียน ในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 3
5.5 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาของผู้เรียน ใน
ระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 2
5.6 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะของผู้เรียน ในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3
และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 2
5.7 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี ของผู้เรียน
ในระดับชั้น ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 2
5.7 ระดับสัมฤทธิ์ผลโดยเฉลี่ยสามปีย้อนหลังกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศของผู้เรียน ในระดับชั้น
ป.3 ป.6 ม.3 และ ม.6 น้ำหนักร้อยละ 2
6 การบริหารและการพัฒนาสถานศึกษา น้ำหนักร้อยละ 15
6.1 ระดับความสำเร็จของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในการกำกับดูแล และขับเคลื่อนการดำเนิน
งานของสถานศึกษา น้ำหนักร้อยละ 3
6.2 ระดับประสิทธิผลของผู้บริหารสถานศึกษาในการบริหารโดยใช้สถานศึกษาเป็นฐาน และการจัดการ
ศึกษาให้บรรลุวัตถุประสงค์ของสถานศึกษาและกลุ่มสาระการเรียนรู้ น้ำหนักร้อยละ 3
6.3 ปริมาณและคุณภาพของครู น้ำหนักร้อยละ 3
6.3.1 สถานศึกษามีครูเพียงพอ น้ำหนักร้อยละ 1
6.3.2 ครูมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณ น้ำหนักร้อยละ 1
6.3.3 ครูมีสมรรถนะตามที่กำหนด น้ำหนักร้อยละ 1
6.4 ประสิทธิผลการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญใน 8 กลุ่มสาระ น้ำหนักร้อยละ 6 ได้แก่
6.4.1 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย น้ำหนักร้อยละ 1
6.4.2 กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ น้ำหนักร้อยละ 1
6.4.3 กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ น้ำหนักร้อยละ 1
6.4.4 กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม น้ำหนักร้อยละ 1
6.4.5 กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา น้ำหนักร้อยละ 1
6.4.6 กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ น้ำหนักร้อยละ 1
6.4.7 กลุ่มสาระการเรียนรู้การงานอาชีพและเทคโนโลยี น้ำหนักร้อยละ 1
6.4.8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ น้ำหนักร้อยละ 1
7. การประกันและพัฒนาคุณภาพภายใน น้ำหนักร้อยละ 10
7.1 ระบบและกลไกในการประกันคุณภาพภายใน น้ำหนักร้อยละ 3
7.2 ผลการประเมินการประกันคุณภาพภายในโดยต้นสังกัด น้ำหนักร้อยละ 3
7.3 การนำผลประเมินภายในไปใช้พัฒนาคุณภาพ น้ำหนักร้อยละ 4
(รวมค่าน้ำหนัก 100)
kudee2010@gmail.com บันทึก
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)